Time Machine

Time Machine : Backup ในคลิ๊กเดียว

Picture8.jpg

Time Machine คือ Application สำหรับการ backup ที่มีมากับ OS X - Leopard ที่ถูกออกแบบมาให้การ backup เป็นเรื่องที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ปรกติมากขึ้น ยิ้มปากกว้าง

โดยมีหลักการทำงานคร่าว ๆ ดังนี้

Time Machine จะทำการ backup ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในเครื่องเราทั้งหมดในการ backup ครั้งแรก แล้วจากนั้นจะทำการ backup เพิ่มเติมในไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อจากนั้นไปเรื่อย ๆ ในทุก ๆ วัน

สิ่งที่ Time Machine backup

  • System Files - ไฟล์สำคัญของระบบ
  • Applications - โปรแกรมภายในเครื่อง
  • Account - บัญชีผู้ใช้งาน
  • Preferences - ค่า setting ต่าง ๆ
  • Music - เพลง (ถ้ามีอยู่ใน library บนเครื่อง)
  • Photos - รูป (ถ้ามีอยู่ใน library บนเครื่อง)
  • Documents - เอกสารและไฟล์ทุก ๆ อย่างที่เราเก็บเอาไว้ในเครื่อง

สิ่งที่ Time Machine ไม่ Backup

  • Temporary files - เช่นพวก Browser Cache หรือไฟล์ชั่วคราวต่าง ๆ ที่จะถูกสร้างใหม่ขึ้นมาได้เรื่อย ๆ

ข้อมูลที่ Time Machine เก็บ

  • backup รายชั่วโมง สำหรับ 24 ชม.ล่าสุด
  • backup รายวัน สำหรับเดือนล่าสุด
  • backup รายสัปดาห์ จนกว่าพื้นที่ HD จะเต็ม

Time Machine ถูกออกแบบมาให้ backup กินพื้นที่บน HD เราไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมด แล้วจะเริ่มลบ backup อันที่เก่าที่สุดออกไปก่อน เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับ backup ใหม่เสมอ .. ดังนั้น จะเป็นการดีที่สุดถ้าเราแบ่ง partition บน HD เอาไว้สำหรับ Time Machine backup โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ Time Machine จะกินพื้นที่เฉพาะใน partition ที่เราแบ่งเอาไว้แล้วเท่านั้น .. ไม่มากินพื้นที่ส่วนอื่นที่เหลืออยู่บน HD ของเรา

note : ปรกติ ถ้าเราซื้อ External HD มาต่อเข้ากับเครื่องเรา จะมีกล่องข้อความจาก Time Machine มาถามเราว่าต้องการจะใช้ HD ลูกที่เพิ่งต่อเข้ามานี้กับ Time Machine หรือไม่ ...

tm-start.jpg

ถ้าคุณแบ่ง partition เอาไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถเลือกกด Use as Backup Disk จากตรงนี้ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ได้ทำการแบ่ง partition เอาไว้ ให้เลือก Cancel ผ่านไปก่อน

[how to] คู่มือการแก้ปัญหา Time Machine เบื้องต้นด้วยตนเอง

ผมบังเอิญเจอหน้า forum topic นี้จากการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับ Time Machine ให้สมาชิกท่านหนึ่งใน มมม. ครับ เป็นความบังเอิญที่น่าเก็บเอามาบอกต่อ หน้านี้เป็นหน้าวิธีแก้ปัญหาการใช้งาน Time Machine เบื้องต้น คล้าย ๆ กับการรวมปัญหาและวิธีแก้แบบต่าง ๆ ไว้ในหน้าเดียว ลองดูนะครับ ผมเชื่อว่ามีประโยชน์ในเบื้องต้นมาก ๆ ครับ ยิ้ม (เป็นภาษาอังกฤษ)

การ Restore System จาก Time Machine Backup

วันนี้ผมได้มีโอกาสลอง Restore ทั้ง System ใหม่จาก Time Machine backup ครับ เลยอยากจะเขียน How-Tos เก็บเอาไว้ เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจอยากจะทราบขั้นตอนการ Restore นี้ครับ

note : สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ของบทความนี้จะเป็นการทำงานก่อนที่ user จะเข้าใช้งานเครื่องปรกติ ทำให้ไม่สามารถที่จะเข้า Internet ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการนำบทความนี้ไปอ้างอิงในการใช้งานจริง สามารถที่จะปรินท์บทความต่อไปนี้โดย

  1. เลือกคำสั่ง Printer-friendly version ที่ตอนล่างสุดของบทความนี้ในหน้า How-tos
  2. แล้วสั่ง print ครับ

การ Restore ทั้ง System?

เหมือนกับการ Copy Hard disk + ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ใน Time Machine (ต่อไปจะขอย่อว่า TM) มาลงใน Hard disk ลูกใหม่ หรือว่า HD ลูกเดิมที่มีปัญหาทำให้เราต้อง format ใหม่ แล้วสามารถทำงานต่อได้เลย โดยเริ่มจากข้อมูลล่าสุด(หรือก่อนหน้านั้น) ที่เรามีอยู่เดิมจากใน TM Backup ครับ

ตรงนี้เป็นความสามารถที่มีประโยชน์มากของ TM นะครับ ที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า TM เอาไว้กู้ไฟล์ที่หายไปบางอันเท่านั้น.. แต่จริง ๆ แล้วเค้าสามารถกู้กลับมาทั้ง System เลยก็ได้ครับ

note :

  1. ควรจะมี External Hd เอาไว้สำหรับเก็บไฟล์ Backup ของ TM นะครับ เพราะจะได้เอาไว้กู้กลับมาได้ ถ้าเราเก็บ Backup บน HD ในเครื่อง ไฟล์นี้จะถูกลบไปด้วยตอน format HD ของเราครับ
  2. สำหรับคนมีหลาย Partitionดูเรื่อง การใช้ Disk Utility : Format HD ประกอบ
  3. สำหรับคนที่ต้องการรวมหลาย Partition ให้เป็นก้อนเดียวสำหรับการ Restore ดู Disk Utility : การรวม Partition ประกอบ
  4. สำหรับการใช้งานพื้นฐานของ Time Machine สามารถเข้าไปดูได้ที่ บทความเกี่ยวกับ Time Machine ครับ

การ Restore System เดิมลงบน HD ใหม่ (หรือ HD เก่าที่ format ใหม่)

1.ใส่แผ่น OS X install DVD เข้้าไปในเครื่อง จากนั้นรอสักพักจนหน้าต่าง Finder ของ OS X Installation โผล่ขึ้นมาบน Desktop

sysrstore-01_0.jpg

2.ไปที่ Apple เมนูบนเมนูบาร์ด้านซ้ายมือบนสุด เลือก Shutdown (Shutdown เท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ Restart)

3.รอให้เครื่องปิดสนิทดีแล้ว ค่อยเปิดขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนที่ได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง จากนั้นรอสักพัก จะมีตัวเลือกให้เราเลือกว่าจะ boot เครื่องจากตรงไหน ให้เลือก boot จากแผ่น OS X install DVD

note : ขั้นตอนนี้จะรอนานหน่อยเพราะว่าเป็นการ Boot จากแผ่น DVD Installer ครับ ไม่ใช่จาก HD ภายในเครื่อง

sysrestore-01-2_0.jpg

4.เลือกภาษาหลักที่จะใช้ในการติดตั้ง เลือกเป็น English ตามหัวข้อแรกไปครับ

sysrstore-01-1_0.jpg

5.เมื่อเข้าหน้าต่าง Welcome เตรียมการติดตั้ง OS X ให้ปล่อยเอาไว้ แล้วไปเลือกบนเมนูบาร์ด้านบน เลือก Utilities / Restore System From Backup ครับ จากนั้นก็รอสักพัก

sysrstore-01_1.jpg

6.จะมีหน้าต่างเตรียมการ Restore จาก TM backup แจ้งขึ้นมา ให้กด Continue ผ่านไป

sysrstore-02.jpg

7.จากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง Source ให้เราเลือก Backup files(system) จากข้อมูลที่เราให้ TM Backup ไว้ ให้เลือกข้อมูลของ TM ที่เราคิดว่ามี Backup ล่าสุดอยู่ในนั้นครับ

sysrstore-03.jpg

อธิบาย

  1. เลือก ข้อมูล Backup ของ TM จากแหล่งที่เรามีอยู่
  2. เลือก Continue เพื่อยืนยัน

note : ตรงนี้ปรกติจะขึ้นมาให้เลือกอันเดียว แต่ถ้าคนที่แบ่ง TM backup ไว้หลายที่ อาจจะมีให้เลือกหลายตัวครับ

8.จากนั้น จะมีรายการลำดับ Backup ของวันต่าง ๆ ขึ้นมาให้เลือก ตรงนี้ให้เลือกอันที่เรา Backup ไว้ล่าสุด (ปรกติจะอยู่บนสุดของ List ครับ)

sysrstore-04.jpg

9.จะให้เราเลือกจุดหมายปลายทาง ให้เลือก Volume (partiton) ที่เราต้องการครับ

sysrstore-05.jpg

อธิบาย

  1. เลือก HD จุดหมายปลายทางที่เราต้องการจะ Restore System
  2. สั่ง Restore - จะมีหน้าต่างเล็ก ๆ ถามยืนยันอีกทีนึง ก็ให้เลือก Continue ไปครับ

note : สำหรับผู้ที่เพิ่งจะรวม Partition ให้เป็นก้อนเดียว .. เหตุผลว่าทำไมต้อง force quit ในขึ้นตอนหลังจากรวม partition แล้วนะครับ คือ ถ้าเรามาทำการ Restore จาก TM เลยโดยที่ไม่ restart เครื่อง ปรากฎว่า เค้าจะยังไม่เห็น Volume ที่เราเพิ่งสร้างมาใหม่ในขึ้นตอนนี้ครับ ..

10.จากนั้นก็จะมีหน้าต่างขึ้นตอนการ Restore ขึ้นมา ก็ให้รอจนเสร็จครับ แล้วเค้าจะบังคับให้ Restart อีกครั้ง

sysrstore-07.jpg

note : ตรงนี้จะใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับขนาดของ system เก่าเราด้วยครับ ของผมขนาดประมาณ 20 GB กว่า ๆ ใช้เวลาไปประมาณ 40 นาทีครับ

11.หลังจาก Restore เสร็จแล้ว จะมีกล่องข้อความแจ้งเราขึ้นมาว่าเสร็จแล้วให้เลือก Restart ครับ

sysrstore-08.jpg

12.หลังจาก restart กลับมาถ้าไม่มีอะไรผิดปรกติ เราจะเข้าสู่การทำงานของเครื่องเราได้เหมือนเดิม ณ สถานะที่เรา Backup ไว้ใน TM ล่าสุดได้จากตรงนี้นะครับ แต่มีบางอย่างที่คุณควรทราบเอาไว้เกี่ยวกับการเริ่มต้นใหม่หลัง Restore System เดิมกลับมาแล้วนะครับ

  • Mail จะถาม เหมือนการใช้งาน Mail ครั้งแรก ให้กด Continue ไปตามปรกติ
  • Spotlight จะยังไม่ทำงานในทันทีที่เราเปิดเข้ามาครั้งแรกนี้นะครับ ต้องรอเค้าทำการ Index ใหม่สักพัก
  • 3rd party app หรือว่า app บางตัวบน Dock หายไป (ขึ้นเครื่องหมาย ?) ครับ ให้ลาก ? จากบน Dock ทิ้งไป แล้วลองหาดูจากใน Application Folder ว่า app ตัวนั้น ๆ ยังอยู่ในนี้หรือไม่ ถ้ายังอยู่ ก็ให้ลากมาลงใน Dock ใหม่ (ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่เหมือเดิม แต่มีบางตัวที่หายไปจาก Application folder ก็ต้องโหลดมาลงใหม่ครับ ที่ผมเจอนะ มี FireFox ครับ)
  • ตัวเลขของ Rss บน Safari bookmarks bar จะเริ่มนับใหม่ ใครมีตรงนี้เยอะ ๆ ก็ต้องไล่กดเปิดกันใหม่หมดครับ ^^’
  • สีของแฟ้มต่าง ๆ ที่เรา Lebel เอาไว้ใน Stack จะหายไป (Lebel ใหม่ ก็ไม่มาครับ - - ผมไม่เข้าใจตรงนี้เหมือนกัน)

เพิ่มเติม

  • ถ้าเรามี Backup เก็บเอาไว้หลายชุด ไม่ว่าจะจาก TM เอง หรือว่า Backup อยู่บน External HD ที่เรามีอยู่แล้ว การ Backup ครั้งสุดท้ายก่อนการ Restore เราสามารถที่จะลดขนาดของ Backup ไฟล์ได้โดยการเข้าไปเลือกยกเว้นไฟล์ Backup ที่เรามีอยุ่แล้วจากใน Time Machine Preference ครับ (จะได้ไม่ซ้ำซ้อน และเสียเวลาในการ Restore น้อยลงด้วย) ดู การ setting Time Machine ประกอบ
  • การ Restore System กลับมานี้ ถ้า HD ใหม่มีความจุมากกว่าเดิม (จะได้มาจากการรวม Partition หรือว่าเปลี่ยน HD ลูกใหม่ก็ตามแต่) ก็จะไม่มีผลอะไรครับ ที่เราจะได้มาก็คือ System เดิม (ที่กินพื้นที่เท่าเดิม) แต่อยู่บน HD ลูกใหม่.. ประมาณนี้ครับ

note : อยากเขียนตรงนี้เก็บเอาไว้ เพราะตอนแรกผมเองก็งง ๆ เหมือนกัน ว่าเค้าจะยังไงแน่ =)

หมดในส่วนของการ Restore แล้วครับ =)

การ Restore ไฟล์ (บางไฟล์ ไม่ใช่ทั้งหมด) จาก Time Machine backup

ถ้าเราบังเอิญลบไฟล์หรือว่าแฟ้มงานของเราไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เราสามารถ restore ไฟล์/แฟ้มงานนั้นกลับมาได้ด้วยการใช้ Time Machine (ย่อว่า TM) ครับ

tm-rest-file-03.jpg

การ Restore ไฟล์ที่หายไปด้วย Time Machine (จะ 1 ไฟล์หรือมากกว่าก็ได้)

1.บน Finder ให้เรียกใช้งาน TM จากเมนูบาร์ด้านบนแล้วไปที่สัญลักษณ์ของ TM แล้วเลือก Enter Time Machine ตามรูปด้านล่างนี้ หรือจะเรียกจาก Applications / Time Machine ก็ได้

tm-rest-file-01.jpg

2.เราจะเข้าหน้าต่างของ TM จะแสดง Finder ของวันที่ปัจจุบันไว้หน้าสุด และวันก่อนหน้าในลำดับถัดไป

tm-rest-file-04-1.jpg

อธิบาย
1.ให้เราเลือกวันที่ย้อนกลับไปจากทางด้านขวาของ TM ให้เลือกย้อนกลับไปในวันที่คิดว่าเรายังมีไฟล์งานนั้นอยู่ในเครื่องหรือว่าใน TM ครับ (ตรงนี้อาจจะมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้งาน TM มานานแค่ไหนแล้ว ยิ่งใช้นาน ตรงนี้ก็จะยิ่งย้อนไปได้ยาวขึ้น)

2.หลังจากเลือกวันที่ไปแล้ว หน้า finder จะถูกย้อนกลับมายังเวลาที่เราเลือกเอาไว้ด้วย หลังจากเค้าย้อนมาวันที่ต้องการได้แล้ว (animation จะหยุดลง) ให้ลองเข้ามาหาไฟล์ที่ต้องการดู โดยจะเป็นเหมือนกับเรา browse ไฟล์ผ่าน finder ปรกติ

note : เราสามารถเลือกวันที่ หรือชม.ถัดไปหรือก่อนหน้าได้จากการกดปุ่มลูกศร (ที่วงกลมสีแดงเอาไว้) ครับ

tm-rest-file-05.jpg

อธิบาย(ต่อจากด้านบน)
3.เมื่อเราหาไฟล์งานที่ต้องการได้แล้วให้เลือกเค้าค้างเอาไว้
4.แล้วเลือก Restore เพื่อเป็นการนำไฟล์นั้นกลับมายังเวลาปัจจุบัน

note : ไฟล์ที่ถูก restore กลับมานี้จะมาอยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่เราเห็นใน TM นะครับ

การตั้งค่า Time Machine

การตั้งค่า Time Machine

การตั้งค่าต่าง ๆ ของ Time Machine ก่อนการเริ่มต้นใช้งาน มีขั้นตอนดังนี้

ปรับตั้งการทำงานต่าง ๆ ของ Time Machine

pref-tm.jpg
ไปที่ System Preferences เลือก Time Machine

เข้าสู่หน้าต่าง setup ของ Time Machine

TM-pref.jpg

  1. ปุ่มเปิดปิดการทำงานของ Time Machine ที่เราสามารถสั่งได้ตลอดเวลา
  2. รายละเอียดของ HD ที่เราต้องการให้ Time Machine ใช้สำหรับ backup
    • Name : ชื่อ HD/ partition
    • Available : พื้นที่ที่เหลือ จาก พื้นที่ทั้งหมด
    • Oldest Backup : วันที่ backup อันที่เก่าที่สุด
    • Latest Backup : วันที่ backup ครั้งล่าสุด

ตรงนี้จะมีตัวเลือกให้เราเลือกปรับได้อีก 2 ตัวคือ

1.Change Disk : เลือกพื้นที่สำหรับ Time Machine
2.Options : กำหนดว่าไม่ให้ Time Machine backup อะไรบ้าง ในบางกรณีที่เราคิดว่ามี backup ไว้อยู่แล้ว และไม่ต้องการให้พื้นที่สำหรับ backup บน Time Machine นี้ใหญ่เกินจำเป็น

note : ติ๊กช่อง Show Time Machine status in the menu bar ถ้าต้องการให้ Time Machine แสดง icon สถานะบน menu bar Picture6.jpg (ตอน Time Machine กำลังทำงาน เราจะเห็น icon นี้หมุนไปหมุนมาด้วย ยิ้มปากกว้าง)

ChangeDisk : เลือกพื้นที่สำหรับ Time Machine backup

Picture3_8.jpg

จะให้เราเลือกพื้นที่สำหรับ Time Machine ทั้งจากพื้น HD ภายในเครื่อง และ HD ที่เราต่อพ่วงอยู่ทั้งหมด

  1. สำหรับคนที่มี Time Capsule ให้เลือกตรงนี้
  2. แต่ถ้าไม่มี ก็ให้เลือก Use for Backup ผ่านไปได้เลย

หลังจากเลือก HD ที่ต้องการใช้กับ Time Machine ได้แล้ว จะสังเกตว่า icon ของตัว HD ที่เราเลือกเอาไว้นั้นเปลี่ยนไป เป็นการแสดงให้เราเห็นว่า HD ลูกนี้ถูกจองไว้ใช้กับ Time Machine แล้วนะ ยิ้มปากกว้าง

Picture2_5.jpg

Options : กำหนดไม่ให้ Time Machine backup อะไรบ้าง

do-not-backup.jpg

  1. เลือก “+” เพื่อเพิ่มสิ่งที่ไม่อยากให้ Time Machine ทำการ backup
  2. หลังจากเพ่ิมรายการเรียบร้อยแล้ว กด Done เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลงนี้

note : ปรกติถ้ามี library หรือว่าไฟล์ใหญ่มาก ๆ อาจจะทำการ backup ส่วน library หรือว่าไฟล์นั้น ๆ เองก็ได้ ทำให้ประหยัดพื้นที่ของ Time Machine backup ไปได้พอสมควร

ปรับทกุอย่างเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลา เปิดใช้งาน Time Machine ครั้งแรก

Picture4_5.jpg
หลังจากเริ่มการทำงานสักพัก เราจะเห็นกล่องแสดงสถานะการ backup ของ Time Machine โผล่ขึ้นมาด้วย แบบนี้ ~
Picture5_1.jpg
นอกจากเราจะเห็นสถานทะการทำงานของ Time Machine บน menu bar ด้านบนแล้ว (รูปร่างแบบนี้ Picture6_0.jpg) เรายังสามารถเห็นว่า Time Machine กำลังทำงานอยู่ผ่านทาง side bar ใน finder ได้อีกด้วย

tm-running-1.jpg

note : การ backup ด้วย Time Machine ครั้งแรกนั้นจะใช้เวลานานพอสมควร (เพราะต้องเริ่มทำการ backup ทุกสิ่งที่อย่างในเครื่องเราใหม่หมด) .. แต่หลังจากนี้แล้ว การ backup ครั้งต่อ ๆ ไปจะเสียเวลาน้อยลง เพราะจะเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกิดความเปลี่ยนแปลงของไฟล์เท่านั้น =)

Time Machine backup เสร็จแล้ว

Picture7.jpg

หลังจาก backup ครั้งแรกเสร็จไปแล้ว ถ้าเราเข้ามาดู จะพบกับ folder เดี๋ยว ๆ ชื่อว่า Backups.backupdb

วิธีการเข้าสู่ Time Machine บน System Preferences จาก menu bar

จะเปิด Time Machine Preferences จาก System Preferences บน Dock หรือจะเปิดผ่าน Time Machine status icon บน menu bar ก็ได้ครับ แบบนี้..

open-tm-pref.jpg

จากตรงนี้จะมีข้อมูลแสดงให้เราดูแยกย่อยไปอีก มีดังนี้

  • Status : จะบอกสถานะการ backup จากในรูปของผมกำลังที่จะเตรียม backup ครั้งใหม่ .. แต่ถ้าผ่านการ backup ไปแล้ว ตรงนี้จะขึ้นวัน / เวลาที่ทำการ backup ไว้ล่าสุดแทน
  • Start/Stop Backing Up : เลือกตรงนี้ถ้าเกิดต้องการ backup หรือว่าหยุดการ backup โดยที่ไม่อยากรอให้ Time Machine ทำงานเอง
  • Enter Time Machine : เข้าสู่ Time Machine เพื่อไปกู้ไฟล์งานของเรา
  • Open Time Machine Preferences : เข้าสู่หน้าต่างปรับค่า Time Machine ใน System Preferences

กลับมาดูที่หน้าต่าง Time Machine บน System Preferences เราจะได้ข้อมูลแบบนี้

details.jpg
Oldest Backup : วันที่ของข้อมูลที่เก่าที่สุดของ backup ที่เรามีอยู่ในเครื่อง (ถ้าเกิดพื้นที่บน HD ของคุณเต็ม Time Machine จะทำการลบข้อมูล backup ที่เก่าที่สุดออกจากระบบก่อนเสมอ เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับ backup ที่ใหม่กว่า .. และจะเตือนคุณก่อนการลบของเก่าออก)
Latest Backup : วันที่ของข้อมูล backup ล่่าสุดที่เรามี
Next Backup : บอก วันที่ และเวลาในการ backup ครั้งต่อไป (ปรกติจะทำการ backup ทุก ๆ 1 ชั่วโมง)

การลบ backup ของไฟล์ที่เราไม่ต้องการใน Time Machine

ในบางกรณีถ้าเราคิดว่าบางไฟล์ไม่จำเป็นต้อง backup หรือว่า backup ของไฟล์นั้นมีขนาดใหญ่ เราอาจจะต้องการลบ backup ของไฟล์นั้นทิ้งไป เพื่อเรียกพื้นที่ของ HD เราคืนมา

การลบ backup ของไฟล์ที่เรามีใน Time Machine (ขอย่อว่า TM)

1.เข้า Time Machine จากบนเมนูบาร์ด้านบน ไปที่สํญลักษณ์ของ TM แล้วเลือก Enter Time Machine หรือจะเปิดจาก Applications/ Time Machine ก็ได้

        tm-rest-file-01_0.jpg

2.เมื่อเข้าหน้าต่างของ TM แล้ว ให้แน่ใจว่าตอนนี้เราเลือก finder ในวันที่ปัจจุบันอยู่ จากนั้นเลือกค้นหาไฟล์ที่เราต้องการตามปรกติ ให้ค้นหาไฟล์ที่เราต้องการจะลบ backup ใน TM ทิ้ง แล้วเลือกค้างเอาไว้

3.ไปที่สัญลักษณ์ฟันเฟือง (ปุ่ม Action) แล้วเลือก Delete All Backups of “ไฟล์ที่เราเลือกเอาไว้” (จากตัวอย่างผมเลือกลบ backup ของแฟ้ม Download)

        delete.jpg

4.จากนั้นจะมีหน้าต่างเตือนขึ้นมาแบบด้านล่างนี้ ถ้าเราต้องการจะลบจริง ๆ ก็ให้กด OK ผ่านไป

delete-w.jpg

5.และจะมีหน้าต่างใหม่มาถาม Login กับ Password ขึ้นมา ให้เรากรอกข้อมูลของเราลงไป (เหมือนตอนเรา login เข้าใช้งานเครื่องตามปรกติ)แล้วเลือก OK

จากตรงนี้ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราก็จะได้พื้นที่ของ HD เรากลับมาแล้วครับ =)

note : ในขั้นตอนนี้จะไม่มีอะไรแสดงมาให้เราทราบว่าเค้าทำการลบไปแล้วหรือกำลังดำเนินการอยู่ ถ้าในกรณีที่เราต้องการจะลบไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ ก็ให้รอเค้าทำงานสักแป๊ปนึงน่าจะปลอดภัยที่สุดครับ (ตรงนี้ผมเดาเอาเองนะ จริง ๆ อาจจะไม่ต้องรอก็ได้ แต่ผมรอเพื่อความอุ่นใจครับ ^^’)